Saturday, May 26, 2018

งานวิจัย

หัวข้อวิจัย : สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา INT212 (การออกแบบภายใน 2)
สาขาวิชาการออกแบบภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผู้วิจัย : ณัฐฐา สววิบูลย์
หน่วยงาน : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ปี ที่พิมพ์ : 2554


บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา INT212 (การออกแบบ
ภายใน 2) สาขาวิชาการออกแบบภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม” มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาด้านการสอนและ
เทคนิคการสอน ด้านบุคลิกลักษณะอาจารย์ ด้านสื่อประกอบการสอน และด้านการวัดและ
ประเมินผล และน าผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในพัฒนาการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษาเป็ นนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการออกแบบภายใน คณะสถาปัตยกรรม
ศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการออกแบบภายใน 2 ภาคการศึกษาที่
2 ปี การศึกษา 2553 จ านวนทั ้งสิ ้น 73 คน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 50 คน คิดเป็ นร้อยละ 68.5
ของประชากรทั ้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็ นแบบสอบถามซึ่งมีสาระ
ครอบคลุมถึงถึงสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ตามกรอบแนวคิดในการ
ศึกษา ซึ่งแบ่งเป็ น 3 ตอน คือ 1)ข้อมูลทั่วไป 2)ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการ
เรียนการสอนในรายวิชา มีลักษณะเป็นมาตราวัด 5 ระดับ และ3)ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
พัฒนาที่มีลักษณะเป็ นค าถามปลายเปิ ด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ (t-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี ้ ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการ
เรียนการสอนในรายวิชาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าสภาพการจัดการเรียนการสอนในภาพรวม
มีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด ทั ้งนี ้เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าในด้านบุคลิกลักษณะของ
อาจารย์ด้านการสอนและเทคนิคการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านสื่อประกอบการสอน
มีการปฏิบัติอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาใน
การจัดการเรียนการสอนที่เห็นว่าทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด อาจหมายความได้ว่าสภาพ
ปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเป็ นไปอย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียด
และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมบางประการที่จะสามารถน าไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป
ค ำส ำคัญ : สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอน

No comments:

Post a Comment